Balance – Beam

“Balance – Beam”
แสง – สมดุล

by Pongpan Runghiranrak
Curate by Nim Niyomsin

9 NOV – 5 DEC 2019

About Exhibition

ภายใต้ภาพรวมของนิทรรศการที่ประกอบไปด้วย รูปทรงของพระพุทธปฏิมามากมายไม่ว่าจะเป็นงานประติมากรรมงานภาพพิมพ์และงานจิตรกรรม แต่นิทรรศการนี้กลับไม่ได้มุ่งเน้นไปที่เรื่องของศาสนาหากแต่เป็นการสื่อถึงการหาจุดสมดุลในชีวิตของมนุษย์ นิทรรศการ แสง – สมดุล เป็นครั้งแรกที่ศิลปินได้นำเสนอผลงานชุดใหม่ของเขา ภายใต้ชื่อพระเมฆพัด(Spectrum)และงานภาพพิมพ์ที่ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน ผลงานที่เน้นแสดงอารณ์ ความรู้สึกและปัญญาญาณ(intuition)ของศิลปินอย่างตรงไปตรงมา โดยเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์และบทสนทนาอย่างเสรี

นิทรรศการนี้ เป็นเรื่องราวของการค้นหาสมดุลของชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจที่กลมกลืนไปกับโลกและจักรวาลที่เราอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนพยายามค้นหาในขณะที่ทุกสรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา การหยุดนิ่งเพื่อพิจารณาจึงต้องใช้ความพยายามและสติอย่าแรงกล้าในทุกขณะทุกย่างก้าวของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินอยู่บนคานทรงตัว(balancebeam)ที่มองไม่เห็นแต่ละก้าวต้องมีสติคอยประคองไม่ให้ตกลงมาก่อนที่จะเดินไปถึงจุดสมดุลนั้นของชีวิต

ในผลงานชุดล่าสุดของศิลปินชุดนี้ใช้เป็นคำว่า Beam แทนค่า เส้นแสง เส้นสี และพลังงาน ในแต่ละชั้นของ Spectrum ที่ตาเปล่ามองไม่เห็น ตลอดระยะเวลาในการทำงานชุดนี้ของศิลปินใช้เวลาเรียนรู้ พิจารณา อารมณ์ และตัวตนเพื่อพยายามอธิบายและหาคำตอบให้กับประสบการณ์ การรับรู้พลังงานอารมณ์ของมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม และสัมผัสได้ โดยศิลปินได้แรงบันดาลใจ จากการตีความหมายใหม่ด้วยตัวเองในเรื่องของจักรศาสตร์โบราณของตะวันออกที่พูดถึงแหล่งพลังงานด้านจิวิญญาณทั้ง7ภายในร่างกายมนุษย์ แทนด้วยสีทั้งเจ็ดซึ่งแต่ละสีเผยให้เห็นถึงการทับซ้อน ของอารมณ์ ของจิตมนุษย์ที่ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกที่เข้ามาสัมผัสเข้ามาเร้าในบางครั้งเส้นสีเหล่านั้นก็ยุ่งเหยิงแตกแยกพยายามเผยตัวออกมา แต่ในบางครั้งกลุ่มสีเหล่านี้ ก็อยู่ในสภาวะที่สมดุล หยุดนิ่ง สงบ และเป็นหนึ่ง

พระเมฆพัด (Spectrum) ผลงานปั้นบรอนซ์ชิ้นล่าสุดของศิลปิน ที่ยังหมกมุ่นอยู่กับ spectrum โดยใช้เทคนิคการทำสีพิเศษด้วยพลังงานความร้อนทำให้เกิด พื้นสีบนผิวเนื้อองค์พระ เกิดการผสมผสานของสี และการทับซ้อนกันของพลังงาน เป็นภาพของสีสันที่เห็นและจับต้องได้ ในขณะที่งาน มุมมองของเส้นสี (Perspectrum) เป็นการทดลอง ลดทอนรูป ด้วยปัจจัยภายนอกโดยการแต้มสีดำของหมึกจีน ซ้อนทับไปบนงานภาพพิมพ์ชั้นแรกที่ทับซ้อนกันของรูปทรงสีต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยภายใน เพื่อให้เกิดรูปทรง และมุมมองใหม่ ให้เกิดการตีความอย่างเสรี นอกจากนี้ ภายในนิทรรศการ แสง-สมดุล นี้ ยังรวบรวมผลงานนามธรรมชุดแรกๆของศิลปิน และงานประติมากรรมจากหลายๆชุดที่ผ่านมา มาจัดแสดง

พระพุทธทาสภิกขุ เคยได้กล่าวถึงหัวใจของศาสนาพุทธไว้ ว่าพุทธศาสนาจริงๆแล้วคือธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นนามธรรม ส่วนประกอบอื่นๆ คือการเสริมเติมแต่งเพิ่มลงไป แล้วเราจะอธิบายถึงบทบาทของศิลปะวัตถุ ที่อยู่ในงานนิทรรศการนี้ได้อย่างไร

การที่ศิลปินทำการลดทอนรูปทรง ปอกเปลือก ขูดลอกพื้นผิวภายนอกของรูปทรงองค์พระพุทธรูปที่เราคุ้นเคย ถือได้ว่าเป็นการพาเราไปสู่หนทางที่ควรจะเป็น หรือว่าจริงๆแล้ว สิ่งที่นำมาจัดแสดงในที่นี้ เป็นผลมาจากการแสร้งทำว่าดี ยึดถือในตัวตนของของศิลปินเอง ที่ขัดจากหลักคำสอนของพระพุทธองค์ แล้วประเด็นนี้ถูกสะท้อนมาและอธิบายบริบทของพุทธวัตถุที่ดำรงอยู่ในพุทธศาสนา ณ ปัจจุบัน อย่างไร หรือนั่นอาจจะเป็นการยั่วล้อ เป็นกุศโลบายของศิลปินที่ชวนให้เราลุกขึ้นมาขบคิดและหยุดพิจารณา

บางทีคำตอบและการทำความเข้าใจในเนื้อหานี้ อาจจะได้มาจากการพยายามตามหาความสมดุลในใจของปัจเจกบุคคล ที่เมื่อเราเข้าใจว่า ไม่มีสิ่งไหนถูกหรือผิดไปทั้งหมด ทุกอย่างอยู่ที่มุมมอง เมื่อนั้น เราจะเริ่มเปิดกว้าง และยอมรับความคิดเห็นที่ใหม่ แตกต่าง หรือตรงข้ามกับเราได้ง่ายขึ้น หลายครั้งในชีวิตคนเราก็เข้าใจผิด และด่วนตัดสินเร็วเกินไป  ทั้งๆที่จริงแล้วทุกสิ่งไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ หรือเพียงแค่สิ่งที่ตาเห็น แต่ประกอบไปด้วยเส้นสีอีกมากมาย ที่เป็นเสมือนตัวแทนของความจริงที่มองไม่เห็น แต่รู้สึกและสัมผัสได้ ยิ่งเรายึดถือความเป็นตัวตนของเรา น้อยลงเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งเป็นคนที่ไม่ด่วนตัดสินคนอื่น มีความเห็นใจ เปิดใจรับ และมองเห็นความจริงที่แท้มากขึ้นเท่านั้น

ในนิทรรศการ แสง – สมดุล ทุกสิ่งที่ล้นเกิน ถูกลดทอนลง ผลงานที่นำมาจัดแสดงไม่ได้เน้นถึงความสมบูรณ์แบบ แต่เน้นถึงการผสมผสานของรูปทรงและวัสดุกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ผลงานหลายๆชิ้นเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างหลายฝ่าย ประสานออกมาเป็นความรู้ ความเข้าใจ ในหลายมุมมอง ที่ไม่ได้เกิดจากแค่ความเชื่อตามๆกันมา แต่เกิดจากความคิดและการหยุดพินิจพิจารณา เพื่อหาจุดสมดุลบน Balance Beam ที่มองไม่เห็นในใจของเราเอง

เกี่ยวกับศิลปิน

พงษ์พันธ์ รุ่งหิรัญรักษ์

เกิด 2519 จังหวัดตราด ปัจจุบันอาศัยและทำงานที่กรุงเทพ ประเทศไทย

พงษ์พันธ์ รุ่งหิรัญรักษ์ เป็นทั้งศิลปิน ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ และอาจารย์พิเศษ จบการศึกษาจากสาขาวิชาภาพยนต์และวิดีโอ ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (2543) เขาทำงานในอุตสาหกรรมโฆษณาควบคู่ไปกับบทบาทการเป็นศิลปิน พงษ์พันธ์ เริ่มทำงานศิลปะจากงานประติมากรรม และงานปั้น เซรามิก ที่เขาใช้เวลาทั้งหมดไปกับการปั้นรูปทรงขององค์พระพุทธรูป ด้วยศิลปินได้รับอิทธิพล ความประทับใจ และแรงบันดาลใจจากการที่เขาเคยได้อุปสมบทในช่วงหนึ่งของชีวิต หลังจากนั้น ศิลปินได้มีโอกาสทดลองทำงานในศิลปะแขนงอื่นๆ และได้มีโอกาสแสดงงานนิทรรศการ เข้าร่วมในงานประมูลทางศิลปะต่างๆ ในช่วงปี 2556-2557 นอกจากนั้นเขาได้มีโอกาสทำงานกับศิลปินชั้นนำ อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ ในนิทรรศการเดี่ยวของอาจารย์ท่านนี้ ภายใต้ชื่อ Before Birth, After Death

พงษ์พันธ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง GOOD for the good of it กลุ่มองค์กรไม่หวังผลกำไร ที่เน้นจัดสร้างโครงการศิลปะเพื่อการกุศลต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม และยังสร้างเพจ สุขใจHappyNormal ที่ที่เน้นในเรื่องของการสร้างความสุขใจ และสุนทรียภาพที่เกิดจากการสร้างสรรค์งานศิลปะจากธรรมะ  ปัจจุบัน เขาเป็นอาจารย์สอนพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรนานาชาติ

พงษ์พันธ์ ใช้ ปัญญาญาณ (intuition) เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของเขาในเส้นทางศิลปะ ศิลปินเคยกล่าวไว้ว่า “เมื่อลงมือปั้น ฉันปล่อยให้สองมือที่บรรจงโอบประคองดิน ลื่นไหลเป็นอิสระ ให้ปัญญาญาณนำทาง กระจายตัว แผ่ซ่าน และเมื่อพลังงานที่ครุกรุ่นอยู่ภายในไหลรวมมาบรรจบเข้าสู่จุดสมดุล เมื่อนั้น ฉันจะรู้ว่างานชิ้นนั้นของฉันได้เสร็จสิ้นลงแล้ว”

ศิลปินได้แสดงผลงานในนิทรรศการกลุ่มและเดี่ยวต่างๆไม่ว่าจะเป็น This is a book, Dialogue Coffee & Gallery, กรุงเทพ (2562), A flower of King Rama IX, Noble Ploenchit Gallery, กรุงเทพ (2560), Getting Zero, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพหมานคร (2559), Bangkok Clay Connections, Hof Art Space, กรุงเทพ (2557) and Before Birth After Death, แกลเลอรี่นัมทอง, กรุงเทพ and Art-U room, โตเกียว, (2557) และในปี 2561 ศิลปินได้มีโอกาสถวายงานประติมากรรมพระสุขใจ (Happynormal) ให้แก่องค์ดาไล ลามะ ที่วัดป่าพุทธคยา เมืองคยา ประเทศอินเดีย ผลงานของเขาเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นงานของหอศิลป์และคอลเลคชั้นส่วนตัวของนักสะสมทั้งในและต่างประเทศ

ภัณฑารักษ์

นิ่ม นิยมศิลป์

เกิด 2523 (กรุงเทพ) ปัจจุบันทำงานและอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ ประเทศไทย

นิ่ม นิยมศิลป์ เป็นภัณฑารักษ์อิสระ จบการศึกษาระดับปริญญาโทประวัติศาสตร์ศิลป์จาก Birkbeck, University of London โดยเน้นในด้าน ศิลปะร่วมสมัย ภาพถ่าย และงานศิลปะในชุมชน

เธอเคยทำงานให้กับองค์กรต่างๆเช่น Artist Pension Trust และ Horniman Museum ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เคยทำงานกับ the Emporium & EmQuartier ในตำแหน่ง Marketing Departmen Manager ดูแลจัดงาน Public Art Festivals และงานทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมอื่นๆ

ในฐานะภัณฑารักษ์อิสระ นิ่ม นิยมศิลป์  ได้ curate งานให้กับหอศิลป์ต่างๆเช่น Objectifs – Centre for Photography and Film ประเทศสิงคโปร์ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพ, 1PROJECTS และ Subhashok The Arts Centre กรุงเทพ และ Forty7 Gallery ลอนดอน นอกจากนี้เธอยังได้เขียนบทความให้กับ Fineart Magazine Why Magazine และ the Bangkok Trader.

Aside from the numerous Buddha-shaped sculptures, prints and paintings on display, this exhibition is not so much about religion as much as it is about life itself. Balance – Beam is Pongpan Runghiranrak’s first exhibition of his latest Spectrum series and his printed work. Works here are a result of a self-expression and raw intuition inviting an open dialogue.

This exhibition is about ‘Balance’, physically and psychologically. How each individual tries to find the ideal way to live and achieve the equilibrium within a universe where change is constant and stability requires determination. It’s how in every moment, we are walking on an imagined balance beam, trying not to fall while keep going forward. 

His Spectrum series is represented by ‘Beams’ of lights and colors . Seeking answers through a lengthly process of self-study and reflection, this series is Runghiranrak’s way to express and explain his experience on human emotion and perception. He has drawn an inspiration from his own interpretation of the ancient Eastern concept of the Seven Chakra System, representing each of the seventh points of human’s spiritual enegy through an aura of color emanation. Each color beam reveals layers of our emotion and reaction in responses to circumstances. Sometimes,

these spectra are in chaos with many colors revealed, but there are times when all colors are in balanced, stable and still.

Spectrum, his newest sculptural series, subtly presents hints of various hues on bronze using a unique technique while the Perspectrum is a result of the reduction process paradoxically by applying and adding black Chinese ink on top of multiple layers of colored screens. Also include in this exhibition are his ealier abstract works and his sculptures from previous series.

Phra Dharmakosacarya, also known as Buddhādasa Bhikkhu, once said Buddhism is mainly Buddha’s teaching. It’s an abstraction; all other aspects included within the religion are merely an addition, not the core. So then how do we explain the material objects, statues and printed works in this exhibition?

Is a reduction of details, form, a peeling of layers and textures of the Buddhist symbol guiding us to the right path? Or do the ideas and artworks shown become hypocrisies of the artist, contrary to core preaching? How does this reflect on the current role of numerous objects and materials of worship within the religious context?

Finding the right balance may provide an answer. When we understand and are open to the idea that nothing can be completely right and wrong, that all depends on perspective, then we may open our mind to new and opposed ideas. Things and situations in life can be easily misunderstood and misjudged: nothing is black and white, but include a range of colors, the whole spectrum, representing all realities and possibilities.  The less we hold on to our ego, the less judgmental and more compassionate and receptive we become.

In Balance-Beam, anything excessive has been reduced. The emphasis is not on perfection but the natural harmony of form and material. Many works are the result of mutual benevolence and cooperation manifesting into knowledge and understanding that is based not on blind belief but on thoughtfulness and contemplation.

Artist’s Biography

Pongpan Runghiranrak

b. 1976 (Trat), lives and works in Bangkok, Thailand

Pongpan Runghiranrak is an artist, creative director and guest lecturer. He received a Bachelors in Fine and Applied Art in Film and Video (2000) and has been working in creative industries and as an artist.

He works primary as a sculptor, starting from his first ceramic classes where he spent time solely sculpting the form of Buddha, an influence that might be a result of his prior, brief but intense, monkhood. He then later explored other media, has been exhibiting regulary and been part of numerous art auctions. From 2013-2014, he worked with leading artist,Kamin Lertchaiprasert,as part of Lertchaiprasert’s solo show, Before Birth, After Death.

Runghiranrak is one of the founders of GOOD for the good of it, a charity group that aims to benefit society and the public through a variety of art projects. He also started a webpage, Happy Normal, as a place to discuss happiness and the aesthetic of Buddhist art . He is currently a guest lecturer at Bangkok University International.

His work and artistic career has always been guided by his intuition. He once said, ‘When I sculpt, the form that appears as an output, is dependent on how my intuition diffuses and converges during the time of sculpting. When it’s in my palm–when I hold the clay, once it balances my inner energy–it means that it’s completed.’

He has participated in various groups and solo exhibitions including This is a book, Dialogue Coffee & Gallery, Bangkok (2019), A flower of King Rama IX, Noble Ploenchit Gallery, Bangkok (2017), Getting Zero, Bangkok Art and Culture Centre (2016), Bangkok Clay Connections, Hof Art Space, Bangkok (2014) and Before Birth After Death, Numthong Gallery, Bangkok and Art-U room, Tokyo, (2014). His works are part of many public and private collections. In 2018, the artist had a chance to present his work. พระสุขใจ (Happynormal) to the Dalai Lama at Wat Pa Bodhgaya, Gaya, India.

Curator

Nim Niyomsin

b. 1980 (Bangkok), lives and works in Bangkok, Thailand

Nim Niyomsin is an independent art curator. She received a Master of History of Art from Birkbeck, University of London. Niyomsin specialises in contemporary art, photography, and public art events.

Prior to working independently, she worked with the Artist Pension Trust and Horniman Museum in London and was recently the Marketing Department Manager for international art and culture at the Emporium & EmQuartier (Bangkok), organizing public art festivals and cultural events.

She is currently an independent curator with exhibitions at Objectifs – Centre for Photography and Film (Singapore), Ratchadamnoen Contemporary Art Center (Bangkok), 1PROJECTS (Bangkok), Subhashok The Arts Centre (Bangkok), SO Gallery (Bangkok) and Forty7 Gallery (London). She has written for magazines such as Fineart Magazine, Why Magazine and the Bangkok Trader.


Duration: 9 November – 15 December 2019

At JOJO KOBE Art Gallery, Chiang Mai, Thailand